fbpx

“เมด อิน ปาเลสไตน์” โปรเจคต์ช่วยปาเลสไตน์ของสาวอเมริกันหลงรักปาเลสไตน์

 

นอกเหนือไปจากการบอยคอตอิสราเอลแล้ว อีกหนึ่งหนทางในการช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์นั่นก็คือ การส่งเสริมหรือสนับสนุนสินค้าของชาวปาเลสไตน์โดยตรง

Morgan Cooper หญิงชาวแคลิฟอร์เนีย ได้เปิดร้านขายสินค้าออนไลน์ที่ชื่อว่า “เมด อิน ปาเลสไตน์” ซึ่งขายสินค้าหลากหลายรายการที่ผลิตโดยชาวปาเลสไตน์ ทั้งจากผู้ผลิตโดยตรงและจากสหกรณ์ในท้องที่

Cooper ได้เล่าเหตุผลที่เธอมาสร้างโอกาสทางการค้านี้ให้แก่ช่างฝีมือชาวปาเลสไตน์และครอบครัวของพวกเขาว่า เธอมาที่ปาเลสไตน์ครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อนเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนซึ่งเป็นครูอยู่ที่ เมือง Ramallah และทำให้เธอได้รู้จักกับครอบครัวมุสลิมครอบครัวหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นเธอรู้สึกตลกตัวเองที่ไม่รู้ว่า อาหารอย่าง Hummus และ farafel คืออะไร

Cooper เริ่มติดใจผู้คนและวัฒนธรรมของที่นี่ เธอได้ขอร้องให้เพื่อนช่วยหาครอบครัวที่อนุญาตให้เธออาศัยอยู่ด้วยเพื่อที่เธอจะได้อยู่ที่นี่ได้นานขึ้น ครอบครัวที่รับเธอเข้ามาอยู่ด้วยรักเธอมากและให้เธอเป็นหนึ่งในลูก 4 คนของพวกเขา จากนั้นเธอก็เริ่มใช้ชีวิตและท่องเที่ยวในดินแดนปาเลสไตน์เป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งตัดสินใจย้ายมาอยู่แบบถาวรในช่วงหน้าร้อนของปี 2007

Morgan Cooper

Morgan Cooper / Photo: Eloise Bollack

เมื่อได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ปาเลสไตน์จริงๆ Cooper เริ่มตระหนักว่า “ชาวอเมริกันจะต้องรับผิดชอบต่อความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นที่นี่ เพราะเราสนับสนุนทางการเงินแก่อิสราเอลให้ยึดพื้นที่เหล่านี้โดยไร้ศีลธรรม ทุกๆครั้งที่ฉันต้องเดินผ่านจุดตรวจของอิสราเอลฉันจะรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมที่รัฐบาลของฉันสนับสนุนให้มันเกิดและอาจจะกระทบกับครอบครัวใหม่ของฉัน”

มกราคม  ปี 2012 Cooper แต่งงานนักอนุรักษ์ต้นไม้ชาวปาเลสไตน์ ทั้งคู่ได้นำเงินออมอันน้อยนิดของพวกเขาลงทุนไปกับองค์กร Mashjar Juthour ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการอนุรักษ์พันธ์พืชและสัตว์ของปาเลสไตน์ องค์กรนี้ไม่ได้ทำหน้าที่คอยปกป้องรักษาต้นมะกอกโบราณและต้นโอ๊คป่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่หวังผลกำไร อาทิเช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และอีกมากมายที่จะเป็นการเชื่อมต่อประชาชนชาวปาเลสไตน์กับที่ดินมรดกโดยชอบธรรมของพวกเขา

ตุลาคม ปี 2003 องค์กร Mashjar Juthour ได้มีการจัดค่ายให้เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในค่ายอพยพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีพื้นที่สีเขียวไว้วิ่งเล่น แต่การหาเงินทุนสำหรับทำค่ายที่ Jothour นั้นยากกว่าที่เธอคาดคิดไว้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ Cooper เริ่มระดมทุนผ่านการขายสินค้าพื้นเมืองที่ทำขึ้นโดยชาวปาเลสไตน์ เธอซื้อสินค้าเหล่านี้โดยตรงจากผู้ผลิต และนำไปวางขายที่ร้านกาแฟใน Ramallah จนกระทั่งเร็วๆ นี้ Cooper เริ่มนำสินค้าออกไปขายต่างประเทศ แต่เนื่องจากเธอแต่งงานกับชาวปาเลสไตน์เธอจึงถูกกันไม่ให้เข้าสู่เยรูซาเล็ม และถูกห้ามไม่ให้ใช้บริการไปรษณีย์

ชีวิตที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อบังคับต่างๆ ทำให้เกิดปัญหามากมายไม่มีที่สิ้นสุดกับแผนในการขายสินค้าไปยังต่างประเทศของเธอ แต่เธอก็แก้ปัญหาด้วยการส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาผ่านนักท่องเที่ยวที่มาเยือนปาเลสไตน์ จากนั้นก็ส่งต่อไปยังอาสาสมัครขององค์กรเพื่อจัดส่งให้ลูกค้าตามที่ต่างๆ ต่อไป

ปัจจุบัน Made in Palestine Shop สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับชาวปาเลสไตน์ โดยเฉพาะผ้าซาราบั่น Keffiyeh ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งแหล่งผลิตอยู่ในโรงงานของครอบครัวชาวปาเลสไตน์ครอบครัวหนึ่ง

Herbawi Textile Factory - Hebron

MadeinPalestine-3

MadeinPalestine-4

ที่มา : Onislam.net

[bws_related_posts]

อ่านเรื่องนี้แล้วคิดอย่างไร ?

About author View all posts Author website

Halal Life

Halal Life สื่อออนไลน์ที่นำเสนอแนวคิด และองค์ความรู้ที่ฮาลาล ผ่านเรื่องราว ผ่านมุมมอง และผ่านประสบการณ์ของหลากหลายผู้คน เพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้ชีวิตในแบบฮาลาลเข้าไว้ด้วยกัน