fbpx

โรคหวาดกลัวอิสลามในสังคมไทย

สังคมโลกต้องเผชิญกับปรากฎการณ์ ความรุนแรงทางการเมืองที่ใช้อาวุธในการต่อสู่ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีสรรพกำลังทางอาวุธอย่างมหาศาลหรือกองกำลังติดอาวุธที่ติดต้ังอุดมการณ์การเมืองอันแรง เป็นดั่งอาวุธที่มีชีวิต ก้าวข้ามพรมแดนรัฐ-ชาติ ทะลุสู่พรมแดนทางสื่อสังคมออนไลน์ ป่าวเชิญชวนคำประกาศิตเพื่อประกอบสร้างรัฐจินตนาการใหม่ นำตนพาเองมาสู่สนามรบจริง สงครามจริง จนเกิดนักรบอาสาจากพื้นที่ต่างๆของโลก

พลันใดนั้นสังคมโลกก็ได้รู้จักกับคำว่า Islamophobia มากขึ้น หลายคนกล่าวว่า Islamophobia หรือ โรคหวาดกลัวอิสลาม นั้นเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2001 และค่อย ๆ กระจายตัวไปทั่วโลก จนเมื่อไม่นานมานี้ประชาคมโลกถูกปลุกให้ตื่นด้วย โรคหวาดกลัวอิสลาม อีกครั้งภายหลังการอพยพหนีตายของชาวตะวันออกกลางจำนวนมากไปยังทวีปยุโรปอันเนื่องมาจากความขัดแย้งภายในประเทศและสงครามกลางเมือง

ขณะที่ในประเทศไทย สภาวะหวาดกลัวอิสลามได้กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค สะท้อนให้เห็นได้จากปรากฎการณ์ต่าง ๆ อาทิ การต่อต้านสร้างมัสยิดที่จังหวัดน่าน คัดค้านการก่อสร้างมัสยิดที่ จ.มุกดาหาร การต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลจังหวัดเชียงใหม่ การรณรงค์ของผู้นำศาสนาพุทธบางท่าน เป็นต้น กระน้ันก็ดีความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังไม่สามารถยุติได้ นานนับทศวรรษกว่า ภาพความรุนแรงก็ยังคงแล่นในหน้าจอทีวีและสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน

ปาตานีฟอรั่ม มีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะสำรวจและทำความเข้าใจกับกระแส โรคหวาดกลัวอิสลามในประเทศไทย ด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลในทุกภูมิภาค โดยเลือก 5 จังหวัด คือ ปัตตานี สงขลา อุดรธานี เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ โดยวิดีทัศน์ชุดนี้คือผลสรุปจากรายงานที่ปาตานีฟอรั่มได้ประมวลออกมา จากการลงพื้นที่รับฟังข้อมูลทั้งหมด

เรียบเรียง/สังเคราะห์ข้อมูล: เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดทำโดย PATANI FORUM
สนับสนุนโดย Australian Embassy Direct Aid Program (DAP) และ Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)

อ่านเรื่องนี้แล้วคิดอย่างไร ?

About author View all posts Author website

Halal Life

Halal Life สื่อออนไลน์ที่นำเสนอแนวคิด และองค์ความรู้ที่ฮาลาล ผ่านเรื่องราว ผ่านมุมมอง และผ่านประสบการณ์ของหลากหลายผู้คน เพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้ชีวิตในแบบฮาลาลเข้าไว้ด้วยกัน