fbpx

เมืองสีคราม ท่ามกลางอุดมคติระหว่างยิว-มุสลิม

chefchaouen_morocco_01

[Photo: dimoxod]

แม้ว่า โมร็อกโค จะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทวีปแอฟริกา แต่การที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรแอตแลนติก จึงทำให้ภูมิอากาศของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียนคล้ายตอนใต้ของอิตาลีและสเปน

ส่วนภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสูงโดยส่วนมาก หลายๆคนเมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวในทวีปแอฟริกา ก็จะนึกถึงการท่องเที่ยวแบบซาฟารีเป็นอันดับแรก แต่การท่องเที่ยวประเทศทางตอนเหนืออย่างโมร็อกโค เราจะได้บรรยากาศที่มีเอกลักษณ์และต่างออกไปจากการท่องเที่ยวแอฟริกาประเทศอื่นๆ

เมืองเชฟชาอูน(Chefchaouen) เป็นเมืองเล็กๆตั้งอยู่ใน หุบเขาริฟ (Rif Mountain หรือ Er-Rif) ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองนั้นยาวนานกว่า 538 ปี ในอดีตก่อนที่โมร็อกโคได้รับเสรีภาพในการปกครองประเทศทั้งหมด ในปี 1956 เมืองเชฟชาอูนเคยอยู่ใต้การปกครองของสเปนมาก่อน และจนบัดนี้ประชากรที่มีประมาณ 40,000 คน ก็ยังคงใช้ภาษาสเปนกันอย่างแพร่หลาย

chefchaouen_morocco_16

[Photo: dimoxod]

เชฟชาอูน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงราบัตและเมืองเฟซ แต่ด้วยเส้นทางที่คดเคี้ยวเนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาอาจใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง และจากคาสซาบลังกาประมาณ 5-6 ชั่วโมง เชฟชาอูนอาจจะไม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความตื่นเต้นจากกิจกรรมกลางแจ้งหรือชายหาดมากนัก แต่อากาศบริสุทธิ์และความสะอาดของเมืองได้สร้างบรรยากาศผ่อนคลายสบายๆที่อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวที่เหนื่อยล้ามาจากการตระเวนเที่ยวที่เมืองอื่นหายเหนื่อยได้

สำหรับคนที่ชื่นชอบในสถาปัตยกรรมแบบโมร็อกโค สีฟ้าและสีขาว ไม่ควรพลาดเมืองเล็กๆนี้ทีเดียว สาเหตุที่เมืองเชฟชาอูนถือว่าเป็นสวรรค์ของคนรักสีฟ้าและสีขาว โดยเฉพาะสีฟ้า นั่นก็เพราะว่าเชฟชาอูนเป็นเมืองที่บ้านเรือนเกือบทุกหลังเป็นสีขาว และมีครึ่งล่างไปจนถึงบริเวณถนน บันได และทางเดิน เป็นสีฟ้าสดใสเหมือนวันที่ท้องฟ้าไร้เมฆ

ถ้าถามว่าทำไมบ้านเรือนจึงเป็นสีฟ้า ก็ต้องเล่าย้อนไปว่า แต่ก่อนแล้วบ้านเรือนไม่ใช่สีฟ้าอย่างปัจจุบัน เดิมที่แล้วบ้านในเชฟชาอูนเป็นสีขาวล้วน มีชาวยิวและชาวมุสลิมที่เป็นผู้อพยพมาจากสเปนเป็นประชากรดั้งเดิมของเมือง สมัยก่อนชาวมุสลิมมักจะทาสีเขียวไว้ที่ประตูบ้าน เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสีที่แสดงออกถึงความเป็นมุสลิม แต่เมื่อไม่นานมานี้เองที่ชาวยิวได้ริเริ่มกระแสทาสีช่วงล่างของบ้านให้เป็นสีฟ้าในช่วงยุค1930 จากนั้นเป็นต้นมาทั้งชาวยิวและชาวมุสลิมในเมืองก็ร่วมกันทาบ้านเป็นสีฟ้ามาตลอดจนถึงทุกวันนี้

chefchaouen_morocco_30

[Photo: Claude Renault]

เชฟชาอูนเป็นเมืองเล็กๆ เราสามารถเดินชมบ้านเรือนได้ทั่วเมืองได้ไม่ยาก สถาปัตยกรรมของเมืองเชฟชาอูนเป็นแบบโมร็อกโคแท้ๆ ดังนั้นซุ้มประตูโค้งจึงสามารถเห็นได้ทั่วทั้งเมือง นอกจากนั้นยังมีน้ำพุที่ปูด้วยกระเบื้องโมเสกแบบโมร็อกโคให้เห็นในบางมุม

แม้ว่าเชฟชาอูนจะไม่ได้เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวแสงสีเสียงตระการตา แต่ว่าเมืองนี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องหัตถกรรมของฝาก เช่น ผ้าทอ ตะเกียงหรือโคมไฟแบบโมร็อกโก ผลิตภัณฑ์จากมะกอกและชีสสด ซึ่งเป็นของพื้นเมืองของคนที่นี่ เครื่องนุ่งห่มและผ้าห่มที่ทำจากขนแกะ

บางร้านเราจะสามารถหาซื้อผงเฮนนา (Henna powder) และอุปกรณ์การวาดที่มีแผ่นฉลุลายไว้แล้ว ผงสีสำหรับใช้ย้อมสีบ้านสีสันสดใสทั้งเขียว เหลือง แดง ส้ม ฟ้า ถุงผงสีเหล่านี้ยิ่งทำให้เมืองสีฟ้าเชฟชาอูนดูสวยสดมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้แล้วตามมุมกำแพงก็ยังมีร้านขายชุดพื้นเมืองโมร็อกโคที่เรียกว่า Jellaba ซึ่งสามารถสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าขนแกะ มีหมวกแแหลมๆติดกับตัวเสื้อ สำหรับสร้างความอบอุ่นให้ศีรษะ

chefchaouen_morocco_32

[Photo: Olga Osipova]

เชฟชาอูนเต็มไปด้วยบ้านเรือนและถนน ตรอก ซอย เล็กๆ คดเคี้ยวทั่วเมือง แม้ว่าจะมีบริการแท็กซี่อยู่บ้าง แต่การท่องเที่ยวไปรอบๆเมืองด้วยการเดินจะดีที่สุด เพราะเราจะสามารถเดินลัดเลาะไปตามตรอกเล็กๆได้สะดวกกว่าการขึ้นแท็กซี่มาก ตัวเมืองมีร้านกาแฟ และร้านอาหารอยู่มากมาย

ถ้ามีโอกาสได้ท่องเที่ยวโมร็อกโคก็ไม่ควรพลาดอาหารพื้นเมืองโมร็อกโคที่เสริฟในภาชนะพิเศษมีชื่อเรียกว่า Tagine ซึ่งมีใช้เฉพาะบริเวณแอฟริกาเหนือ (แอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซีย)

ซึ่งถ้าเป็นที่เชฟชาอูนก็สามารถหารับประทานได้ตามร้านอาหารพื้นเมืองได้ โดยความพิเศษของภาชนะชนิดนี้คือ ทำจากดินปั้น บางอันก็เขียนลวดลายและเคลือบเงาสีสวย เวลาประกอบอาหารก็ใช้ทาจีนทำ ความร้อนจะหมุนวนภายในฝาครอบทรงกรวย ทำให้อาหารสุกเร็วและมีกลิ่นหอม เวลาจะรับประทานก็จะยกเสริฟมาทั้งจานและฝาครอบ ลักษณะเครื่องหุงหาอาหารที่เป็นภาชนะได้ด้วยในอันเดียวกันแบบนี้ เป็นลักษณะพิเศษของพวก nomad ซึ่งก็คือชาวเบอร์เบอร์ (Berber) ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้

เชฟชาอูนเป็นเมืองที่สงบ และเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องความกลมกลืนและปรองดองกันระหว่างชาวยิวและชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ว่าจะเป็นสองสีที่ต่างกัน เขียวและฟ้า หากว่าทั้งสองฝ่ายรู้จักเปิดใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน สิ่งที่ได้รับนอกจากการอยู่ร่วมกันอย่างสันติแล้วยังนำพาความก้าวหน้ามาสู่ทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

chefchaouen_morocco_29

[Photo: Brian Hammonds]

chefchaouen_morocco_03

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_18

[Photo: halifaxlight]

chefchaouen_morocco_19

[Photo: Andy Mumford]

chefchaouen_morocco_04

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_17

[Photo: Michael Sheridan]

chefchaouen_morocco_05

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_20

[Photo: Cherry Bharati]

chefchaouen_morocco_28

[Photo: Claude Renault]

chefchaouen_morocco_31

[Photo: Sorin Rechitan]

chefchaouen_morocco_06

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_21

[Photo: Michael Badt]

chefchaouen_morocco_07

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_22

[Photo: Alexander Dragunov]

chefchaouen_morocco_08

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_23

chefchaouen_morocco_09

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_24

[Photo: Claude Renault]

chefchaouen_morocco_10

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_25

[Photo: One World Two Explorers]

chefchaouen_morocco_11

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_26

[Photo: Mario Tome]

chefchaouen_morocco_15

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_27

[Photo: Beum Photography]

chefchaouen_morocco_12

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_13

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_14

[Photo: dimoxod]

chefchaouen_morocco_33

[Photo: Sabino Parente]

chefchaouen_morocco_34

[Photo: Giorgio Compagnoni]

เรียบเรียงจาก : poppaganda.net
thaiza.com

[bws_related_posts]

อ่านเรื่องนี้แล้วคิดอย่างไร ?

About author View all posts Author website

Halal Life

Halal Life สื่อออนไลน์ที่นำเสนอแนวคิด และองค์ความรู้ที่ฮาลาล ผ่านเรื่องราว ผ่านมุมมอง และผ่านประสบการณ์ของหลากหลายผู้คน เพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้ชีวิตในแบบฮาลาลเข้าไว้ด้วยกัน